อย่างไรก็ดี สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจโดยกรมอุตุนิยมวิทยาไอซ์แลนด์ได้ออกคำเตือนว่า ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟอาจส่งผลกระทบต่อเมืองหลวงของประเทศ
ภาพลาวาสีเหลืองส้มจากภูเขาไฟบนคาบสมุทร"เรคยาเนส" (Reykjanes) ในไอซ์แลนด์ ที่พวยพุ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงค่ำวานนี้ 19 ธ.ค.หรือหนึ่งวันหลังจากที่ภูเขาไฟลูกนี้เริ่มปะทุขึ้น
ขณะเดียวกัน ภาพถ่ายทางอากาศ ที่เผยให้เห็นลาวากระเซ็นขึ้นมาตามรอยแยกของภูเขาไฟ โดยมีความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเมืองกรินดาวิกออกมาเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น
ภูเขาไฟในไอซ์แลนด์เกิดการปะทุครั้งใหญ่ ทางการเร่งอพยพประชาชน
ไอซ์แลนด์สั่งปิดบลูลากูน หลังแผ่นดินไหวกว่า 1,000 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
ส่วนนี่คือภาพที่บันทึกไว้ได้จากกล้องถ่ายทอดสดในยามค่ำคืน แสดงให้เห็นว่าลาวาสีส้มยังคงปะทุอย่างต่อเนื่องตลอดแนวของภูเขาไฟ ย้อนกลับไปเมื่อช่วงกลางดึกของวันจันทร์ที่ผ่านมา ภูเขาไฟลูกนี้ปะทุอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้ท้องฟ้าในเมืองกรินดาวิก บนคาบสมุทรเรคยาเนสสว่างไหวในช่วงค่ำคืน
ขณะเดียวกัน ภูเขาไฟก็ได้พ่นลาวาและควันพวยพุงขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงกว่า 100 เมตร และพบธารวาลาไหลออกมาจากทุกทิศทางของรอยแยกด้วยความเร็ว 100-200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่ามากกว่าการปะทุครั้งก่อนๆ หลายเท่า
ล่าสุด เจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติไอซ์แลนด์เปิดเผยว่า ความรุนแรงของการปะทุของภูเขาไฟได้ลดระดับลงแล้ว
ด้านมัคคุเทศก์ท้องถิ่นต่างแสดงความโล่งใจ เพราะอาจส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน ตอนนี้พวกเขาก็รู็สึกเห็นใจประชาชนที่ต้องอพยพออกจากบ้านของตัวเอง แทนที่จะได้ใช้เวลาช่วงคริสต์มาสที่บ้านร่วมกับครอบครัว
แม้ว่าความรุนแรงของภูเขาไฟจะลดลง แต่กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของไอซ์แลนด์ยังคงออกคำเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการปะทุของภูเขาไฟที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังเตือนว่า ก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจากภูเขาไฟที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อาจส่งผลกระทบต่อกรุงเรคยาวิก เมืองหลวงของไอซ์แลนด์ในช่วงเย็นวานนี้ หรือเช้าวันนี้ 20 ธ.ค.ตามเวลาท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม สนามบินนานาชาติเคฟลาวิก (Keflavik International Airport) ที่อยู่ไม่ไกลจากภูเขาไฟยังคงเปิดทำการตามปกติ
แต่ก็มีรายงานเที่ยวบินล่าช้าทั้งขาเข้าและขาออกรายงานข่าวระบุว่า มีผู้พบเห็นนักเดินทางเดินอยู่ในสนามบินดังกล่าว และจ้องมองข้อมูลเที่ยวบินของตนเองบนกระดานแสดงเที่ยวบิน ท่ามกลางคำเตือนถึงมลพิษที่อาจเกิดขึ้นจากก๊าซที่มาจากปะทุของภูเขาไฟ
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปที่นั่นต่างแสดงความรู้สึกแตกต่างกันไป บางคนตื่นเต้น ขณะที่บางคนก็กังวล แต่พวกเขายังรู้สึกมั่นใจในด้านความปลอดภัย เพราะไม่ได้เข้าไปใกล้ภูเขาไฟมากขนาดที่จะทำให้เกิดอันตราย
การปะทุของภูเขาไฟบนคาบสมุทรเรคยาเนส ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอซ์แลนด์ เกิดขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์
ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว ทางการไอซ์แลนด์ ก็เคยสั่งอพยพประชาชนราว 4,000 คน ออกจากเมืองกรินดาวิก ซึ่งเป็นเมืองประมงเล็กๆ เนื่องจากมีโน้มที่ได้รับอันตรายจากธารลาวา หากเกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้น และจนถึงตอนนี้ ประชาชนที่ถูกอพยพออกมายังคงรอคอยที่จะได้กลับบ้าน
นี่ถือเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 3 ปี ที่ภูเขาไฟที่ตั้งบนคาบสมุทรเรคยาเนสแห่งนี้ปะทุขึ้น หลังจากที่อยู่ในภาวะสงบมานานเกือบ 1,000 ปี
ภูเขาไฟที่ตั้งบนคาบสมุทรเรคยาเนสแห่งนี้ชื่อว่า ภูเขาไฟ ฟากราดาลส์ฟยาล (Fagradalsfjall) ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเรคยาวิค เมืองหลวงของประเทศไอซ์แลนด์ ออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 32 กิโลเมตร ทั้งนี้ ภูเขาไฟลูกนี้สงบมานานถึง 800 ปี ก่อนจะเกิดระเบิดขึ้นครั้งแรกในเดือนมีนาคมปี 2021
ข้อมูลจาก เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ระบุว่า ภูเขาไฟฟากราดาลส์ฟยาลได้ปะทุมาแล้ว 3 ครั้ง คือ ในปี 2021ปี 2022 และช่วงต้นฤดูร้อนของปีนี้
ส่วนการปะทุของภูเขาไฟเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ถือเป็นการปะทุครั้งที่ 4 ในรอบ 3 ปีของภูเขาไฟบนคาบสมุทเรคยาเนสแห่งนี้
และการปะทุครั้งมีความผิดปกติเมื่อเทียบกับการปะทุ 3 ครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากได้พ่นลาวาออกมามากกว่าครั้งก่อนๆ และกิจกรรมของภูเขาไฟโดยรวมมีความไม่แน่นอน และไม่สามารถคาดเดาว่าจะปรากฏการณ์ใดขึ้นต่อไป
โดยการระเบิดของภูเขาไฟแบบต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไอซ์แลนด์กำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการปะทุของภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้
ไอซ์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีภูเขาไฟจำนวนมาก ทั้งที่ยังมีพลังและไม่มีพลัง เนื่องจากประเทศตั้งอยู่บนสันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย และแผ่นเปลือกโลกอเมริกาเหนือ
ภูเขาไฟเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หินและลาวาร้อนจากภายในโลก ระเบิดพุ่งหรือไหลทะลักขึ้นมาบนชั้นเปลือกโลก โดยทั่วไปแล้วภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
ภูเขาไฟระเบิด ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงประเภทหนึ่งและการระเบิดของภูเขาไฟแสดงให้เห็นว่า ลึกลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกมีความร้อนสะสมอยู่มาก เนื่องจากการปะทุของภูเขาไฟเกิดจากหินหนืดร้อนที่อยู่ในส่วนลึกใต้เปลือกโลก เคลื่อนตัวด้วยแรงดันออกมาสู่ผิวของเปลือกโลก ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีภายในเปลือกโลก
อย่างไรก็ดี การระเบิดของภูเขาไฟรอบนี้ ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เชี่ยวชาญ เพราะรูปแบบของกระบวนการปะทุค่อนข้างผิดปกติ และรุนแรงกว่าครั้งก่อนหน้า
ลูกา ดาออเรีย ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภูเขาไฟของสถาบันภูเขาไฟแห่งหมู่เกาะคานารี ระบุว่า การปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนี้สร้างความประหลาดใจให้กับบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ เพราะเป็นการปะทุที่รุนแรงที่สุดจากการปะทุต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และรูปแบบของกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนการปะทุ ค่อนข้างผิดปกติ โดยกระบวนการต่างๆ เริ่มต้นขึ้นอย่างรวดเร็วคำพูดจาก สล็อตวอเลท
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงต่อเนื่อง ทำให้พื้นดินเกิดความผิดปกติครั้งใหญ่ และมีรอยแยกเกิดขึ้นที่เมืองกรินดาวิก บนคาบสมุทรเรคยาเนสแต่ก็ยังไม่มีการปะทุของภูเขาไฟในวันนั้น จนกระทั่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
ด้านโธมัส วอลเตอร์ หัวหน้าคณะทำงานที่ศูนย์วิจัยธรณีศาสตร์ ประจำสถาบันด้านสิ่งแวดล้อมของเยอรมนี ก็ได้แสดงความประหลาดใจต่อการปะทุล่าสุดของภูเขาไฟลูกนี้เช่นเดียวกัน เพราะไม่มีคาดคิดมาก่อนว่า ภูเขาไฟจะปะทุขึ้นในคืนวันจันทร์
อย่างไรก็ตาม หัวหน้านักวิจัยของเยอรมนีรายนี้ย้ำว่า ตัวเขาไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมจากการปะทุของภูเขาไฟลูกนี้ได้ เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับรอยแยกบริเวณภูเขาไฟ
เปิดคำพิพากษาเต็ม คุก “ลุงพล” 20 ปี คดีน้องชมพู่ ยกฟ้องป้าแต๋น
แผ่นดินไหวจีนขนาด 6.2 เขย่ามณฑลกานซู่ เสียชีวิตแล้วมากกว่า 100 ราย
"4 ราศี ดวงการงานดีที่สุด ปี 2567" มีโอกาสเลื่อนขั้น โยกย้าย!